มรดก

คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

การทำปฏิทิน
        อียิปต์โบราณรู้จักการทำปฏิทินโดยยึดหลักสุริยคติกล่าวคือ 1 ปีมี 12 เดือน 30 วัน อีก 5 วันสุดท้ายถูกกำหนดเพื่อการเฉลิมฉลองการกำหนดฤดูถือตามหลักความเป็นไปของธรรมชาติและการเพาะปลูก 1 ปีมี 3ฤดูๆละ 4 เดือน เริ่มจากฤดูน้ำท่วมหรือน้ำหลาก (The Flood of River Nite) ฤดูที่สองคือ ฤดูเพาะปลูกหรือไถหว่าน (The Period of Cultivation) ฤดูที่สามคือ ฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล (The Period of Havesting) การที่ชาวอียิปต์โบราณรู้จักการทำปฏิทินนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ชัดความเจริญและความสามารถโดยแท้จริง

                        ปฏิทินอียิปต์โบราณแบบสุริยคติ              ปฏิทินอียิปต์ - ปี/เดือน/วัน - จักราศี
   ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-kar-phaethy/--dan-khnitsastr-laea-withyasastr 

คณิตศาสตร์

        เป็นผู้วางรากฐานหลักวิชาเลขคณิตและเรขาคณิต รู้จักการบวก ลบ หาร แต่ยังไม่รู้จักวิธีคูณ โดยเฉพาะด้านเรขาคณิตอียิปต์โบราณเจริญมาก กล่าวคือ สามารถคำนวณหาพื้นที่ของสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมคางหมูและวงกลมได้ ตลอดจนชำนาญในการวัดที่ดิน ความสามารถในด้านคณิตศาสตร์มีส่วนช่วยอย่างมากในงานสถาปัตยกรรม รู้จักคำนวณหาปริมาตรของปิรามิด ค้นพบเลขระบบทศนิยม ค้นพบว่า ¶ ( Pie) มีค่าเท่ากับ 3.14

กระดาษปาปิรุส
        กระดาษ เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ โดยชาวอียิปต์โบราณ และชาวจีน ตั้งแต่สมัยโบราณ แต่กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึก ด้วยกันทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าระบบการเขียน คือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก
กระดาษของชาวอียิปต์โบราณ ผลิตจากเยื่อต้นอ้อ (Papyrus) โดยนำต้นอ้อที่มีขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำไนล์มาลอกเอาเยื่อออกวางซ้อนกันตากให้แห้งกลายเป็นกระดาษ และเรียกว่ากระดาษปาปิรุสก้านอ้อแข็งคืออุปกรณ์ที่ใช้เขียน ยางไม้ผสมสีใช้เป็นหมึก พบว่ามีการใช้จารึกบทสวดและคำสาบาน บรรจุไว้ในพีระมิดของอียิปต์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีการใช้กระดาษที่ทำจากปาปิรุสมาตั้งแต่ปฐมราชวงศ์ของอียิปต์ (ราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล)
สำหรับวัสดุใช้เขียนอื่นๆนั้น ในสมัยโบราณมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น แผ่นโลหะ หิน ใบลาน เปลือกไม้ ผ้าไหม ฯลฯ ผู้คนสมัยโบราณคงจะใช้วัสดุต่างๆ หลากหลายเพื่อการบันทึก ครั้นเมื่อราว ค.ศ. 105 ชาวจีนได้ประดิษฐ์กระดาษจากเศษผ้าฝ้าย และหลังจากนั้นได้มีการใช้วิธีผลิตกระดาษเช่นนี้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว


ต้นปาปิรุส และกระดาษปาปิรุส
ที่มาhttps://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-kar-phaethy/--dan-khnitsastr-laea-withyasastr

การแพทย์

ด้านการแพทย์

เกิดการเก็บศพ  ในสุสานขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “มัมมี่” หลายพันปีมาแล้ว ชาวอียิปต์โบราณได้คิดค้นวิธีที่จะรักษาสภาพศพให้สมบูรณ์ เพื่อรอคอยการเกิดใหม่ของดวงวิญญาณ การทำมัมมี่จึงถือกำเนิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์นี้คำว่า "มัมมี่" (Mummy) เชื่อกันว่ามาจากคำว่า มัมมียะ (Mummiya) คำในภาษาเปอร์เชียซึ่งหมายถึงร่างของศพที่ถูกทำให้มีสีดำมัมมี่มีส่วนชี้ให้เห็นถึงความสวยงามทางการแพทย์ของอียิปต์โบราณซึ่งแอ็ดวินสมิธเป็นผู้พบข้อความทั้งหมดถูกบันทึกไว้เมื่อประมาณปี 1600 ระบุแสดงความสามารถของแพทย์อียิปต์โบราณด้านการผ่าตัดกระโหลก ผ่าตัดกระดูกสันหลัง การวิจัยและรักษาโรคต่างๆ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มัมมี่ที่มา https://sites.google.com/site/peidkrumammidindan/-mammi-mnusy

มัมมี่อียิปต์การทำมัมมี่: มัมมี่ถูกทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่4 และมีเรื่อยมาจนถึงค.ศ.641 ชาวอียิปต์เชื่อว่าหลังจากที่มนุษย์ ตายไปแล้วดวงวิญญาณจะกลับมาเกิดใหม่ในร่างเดิมจึงต้องเก็บร่างเอาไว้เพื่อรอรับการเกิดใหม่ในยุค อาณาจักรเก่าเชื่อว่ามีเพียงฟาโรห์เท่านั้นที่จะกลับมาคืน ร่างเดิมแต่ในสมัยต่อมาการทำมัมมี่ได้แพร่หลายสู่ขุนนางและสามัญชนแม้กระทั่งสัตว์ที่เป็นสัญลักณ์ ของเทพเจ้าในการทำมัมมี่ชาวอียิปต์จะเริ่มจากการนำศพของผู้ตายมาทำความสะอาด ล้วงเอาอวัยวะภายในออกโดยการใช้ตะขอที่ทำด้วยสำริดเกี่ยวเอาสมองออกทางโพรงจมูก แล้วใช้มีดที่ทำจากหินเหล็กไฟซึ่งมีความคมมาก กรีดข้างลำตัว เพื่อล้วงเอาตับ ไต กระเพาะอาหาร ปอดและลำไส้ออกจากศพ โดยเหลือหัวใจไว้สาเหตุที่ไม่เอาหัวใจออกจากร่างด้วยเพราะเชื่อกันว่าหัวใจเป็นศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณ อวัยวะภายในเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยวัสดุประเภทขี้เลื่อย เศษผ้าลินิน โคลน และเครื่องหอม จากนั้นอวัยวะทั้งหมดจะถูกนำไปล้างด้วยไวน์ปาล์ม และนำไปผสมกับเครื่องหอมและทำให้แห้งด้วยสมุนไพรจากนั้น จึงนำไปดองในน้ำยานาตรอนประมาณหนึ่งสัปดาห์ก่อนจะนำมาบรรจุลงในภาชนะสี่เหลี่ยม มีฝาปิด ที่รู้จักกันในชื่อของ " โถคาโนปิก(Canopic) " สี่ใบ
ส่วนศพจะนำไปชำระล้างใน แม่น้ำไนล์ จากนั้นจะนำไปแช่ในน้ำยานาตรอน(Natron)ซึ่งเป็นสารพวกsodium Carbonate โดยเปลี่ยนน้ำยาทุกสามวันและแช่ประมาณหกสิบวันจนศพแห้งสนิทแล้ว ก็จะถูกนำมาเคลือบด้วยน้ำมันสน จากนั้นจะมีการตกแต่งและพันศพด้วยผ้าลินินสีขาวชุบเรซิน มัมมี่ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะถูกนำบรรจุลงในหีบศพ พร้อมกับเครื่องรางของขลังต่างๆ และมัมมี่บางตัวยังมีหน้ากากที่จำลองในหน้าของผู้ตายวางไว้ในหีบศพของมัมมี่อีกด้วย
หีบศพและโถคาโนปิกจะถูกนำไปบรรจุในสุสานพร้อมข้าวของเครื่องใช้และสมบัติเพื่อรอการกลับมาของวิญญาณ

 เกิดวิทยาการทางการแพทย์ ในระยะแรกๆยังรักษาพยาบาลคนป่วยไข้ด้วยความเชื่อในเรื่องเวทย์มนต์คาถา ประมาณ 1,700 ปีก่อนคริสตกาลเริ่มนำแนวทางของวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการรักษา ทำให้การแพทย์ของอียิปต์เจริญขึ้นเป็นลำดับ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เช่น จักษุแพทย์ ทันตแพทย์ และศัลยแพทย์ แพทย์อียิปต์มีความเข้าใจในความสำคัญของหัวใจ มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด รู้จักใช้น้ำเกลือรักษาบาดแผลเพื่อป้องกันการอักเสบ ใช้ต่างในการรักษาบาดแผล มีการค้นพบการทำน้ำยารักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย

ศิลปกรรม

ปิรามิด

        ปิรามิดในอียิปต์มีอยู่ 70แห่ง ด้วยกัน แต่ปิรามิด 3 แห่งที่อยู่เมืองกีซ่า พีระมิดทั้งสามสร้างเรียงต่อกันเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกรุงไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ปัจจุบัน
ปิรามิดทั้ง 3 แห่ง คือ

ปิรามิดของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์
-ปิรามิดของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์
หลุมฝังศพของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์[พระเจ้าคูฟู(Khufu or Cheops)] เป็นปิรามิดที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่ามหาปิรามิด สันนิษฐานว่าปิรามิดนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ 4600 ปีมาแล้ว คือสร้างเมื่อประมาณปี 2600 B.C. ใช้ก้อนหินประมาณ 2300,000 ก้อน แต่ละก้อนหนักกว่า 2 ตัน ใช้แรงงานคนสร้างถึง 100,000 คนสกัดหินทุกก้อนด้วยสิ่วและค้อนอย่างยากลำบาก ประณีตและชำนาญ ปิรามิดนี้สร้างบนเนื้อที่ประมาณ 12 เอเคอร์ หรือ 570,000 ตารางฟุต บริเวณฐาน ปิรามิด 4 ด้านนั้น มีความกว้างยาวเท่ากัน คือ 755 ฟุต ตัวมหาปิรามิดนี้สูงประมาณ 432 ฟุต( 147เมตร)สันนิษฐานว่าผู้สร้างปิใจกลางปิรามิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออพส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต หีบพระศพของพระเจ้าคีออพส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องปิรามิดของพระเจ้าคีออพส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และปิรามิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง ซึ่งเป็นของสมาชิกในราชวงศ์และในราชสำนักชั้นสูง นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่า ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและยังคงตั้งตระหง่านอยู่เพียงแห่งเดียวในโลก ใช้เวลาสร้าง 10 ปีและ จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลก
ปิรามิดคีเฟรน
ที่มาhttps://sites.google.com/site/social8002




-ปิรามิดคีเฟรน
(Khafra) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาคีออพส์ปิรามิด เล็กกว่ามหาคีออพส์ปิรามิดเล็กน้อย คือสูง 460 ฟุต ช่วงบนของปิรามิดนี้มีลักษณะเด่นเพราะเป็นหินปูนขาว











 



ปิรามิดไมซีนัส
ที่มา https://sites.google.com/site/social8002


-ปิรามิดไมซีรีนัส(Micerinus) เป็นปิรามิดที่เล็กที่สุดในบรรดาทั้งสามแห่ง ฟาโรห์ไมซีรีนัส (Micerinus) โอรสของ ฟาโรห์คีเฟรน ขึ้นปกครองอียิปต์ได้สร้างพีระมิด ขึ้นเป็นหลังที่สามที่ความสูง 65.5 เมตร (ปัจจุบันคงเหลือความสูง 62 เมตร) ฐานแต่ละด้านกว้างประมาณ 105 เมตร และเอียงทำมุมประมาณ 51 องศา ซึ่งแม้จะมีขนาดเล็กที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า แต่ก็ยังสูงประมาณอาคาร 18 ชั้น (เมื่อคิดความสูงที่ชั้นละ 3.6 เมตร) สำหรับพีระมิดไมซีรีนัส นี้ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากนับตำแหน่งมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของพีระมิดไมซีรีนัส เป็นตำแหน่งอ้างอิง และหากพีระมิดไมซีรีนัส มีขนาดใหญ่ประมาณเท่ากับพีระมิดคีเฟรน มุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพีระมิดจะต่อกับมุมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของพีระมิดคีเฟรนพอดี และมีระยะห่างกันเท่ากับระยะระหว่างพีระมิดคีออปส์และคีเฟรน นั่นคือเป็นไปได้ว่าเดิมการก่อสร้างพีระมิดไมซีรีนัส อาจมีความตั้งใจสร้างให้มีขนาดเท่ากับพีระมิดแห่งกิซ่า 2 องค์ก่อนหน้า แต่ภายหลังได้ตัดสินใจก่อสร้างเป็นขนาดเล็กอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

สฟิงซ์

        เป็นผลงานด้านประติมากรรมที่ยิ่งใหญ่และรู้จักไปทั่วโลก มีลักษณะใบหน้าเป็นคน หัวเป็นสิงโตแกะ สลักบนหินก้อนใหญ่หมอบเฝ้าหน้าปิรามิด โดยหน้ามนุษย์ใบหน้านี้เป็นใบหน้าของพระเจ้าคีเฟรน ซึ่งมีคนนับถือเป็นพระเจ้าแห่งพระอาทิตย์ รูปสฟิงซ์นี้สูงถึง 66 ฟุต ยาว 240 ฟุต หมอบเฝ้าปากทางที่พามุ่งตรงไปยังปิรามิดแห่งคีเฟรน

ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-silpkrrm

วิหารคาร์นัคแห่งเมืองธีปส์
        วิหารนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นอาคารใหญ่สุดของอียิปต์โบราณ ยาว 338 ฟุต กว้าง 170 ฟุต ใช้เสาหินกลมสูง 79 ฟุต รองรับหลังคา
ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-silpkrrm

 ภาพแกะสลัก (Sculpture)

        ได้แก่ ภาพสฟิงซ์ที่หน้าปิรามิคของกษัตริย์คูฟู ลำตัวเป็นสิงโตหมอบมีความยาว 13 ฟุต กว้าง 8 ฟุต แกะสลักมาจากหิน

รูปปั้นหรือรูปหล่อ (Statue)
        นิยมปั้นหรือหล่อเฉพาะครึ่งตัวบนของจักรพรรดิ์ เช่น รูปปั้นหรือรูปหล่อครึ่งตัวบนของพระนางฮัทเซฟซุทกษัตริย์ทัสโมสที่ 2 กษัตริย์อเมนโฮเต็ปที่ 4 และมเหสี กษัตริย์รามซีสที่ 2
พระนางฮัทเซฟซุท
ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-silpkrrm

ภาพแกะสลักฝาผนัง
        ภาพแกะสลักฝาผนังที่มีชื่อคือภาพการต่อสู้ของพระเจ้ารามซีสที่ 2 กับฮิตไตท์ที่วิหารคาร์นัค ภาพนี้ยาว 170 ฟุต

ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-silpkrrm

ภาพวาด


        ภาพวาดนี้นิยมวาดตามผนังและเพดานของวิหาร พระราชวัง และปิรามิด ภาพวาดจัดเป็นศิลปกรรมประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพราะทำให้ชนรุ่นหลังได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพสังคม การปกครอง การค้า การแต่งกาย และประเภทของเครื่องใช้เป็นต้น

ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-silpkrrm

อักษรศาสตร์

ด้านอักษรศาสตร์  

  ศิลปการเขียนของอียิปต์โบราณเริ่มเมื่อประมาณ 300 B.C. การบันทึกทำเป็นอักษรภาพ รู้จักในนามอักษรภาพเฮียโรกลิฟฟิค (Hieroglyphic) ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นรูปภาพและแบบที่เป็นสัญลักษณ์ประกอบเป็นคำ โดยจะบันทึกลงในแผ่นหินและม้วนกระดาษปาปิรัสซึ่งทำจากต้นกก ตัวอักษรอียิปต์มีประมาณ 1000 ตัว ในสมัยก่อน ผู้ที่สามารถอ่านเขียนอักษรเฮียโรกลิฟฟิคได้คล่องแคล่วจะมีโอกาสได้ทำงานเป็นอาลักษณ์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสที่จะเลื่อนขึ้นเป็นขุนนาง หรือนักบวชสำคัญได้
ต่อมาเพื่อให้การเขียนง่ายขึ้นไม่สลับซับซ้อน ได้พัฒนาการเขียนให้มีตัวอักษรภาพน้อยลงเรียกอักษรเฮราติค (Hieratic) ภารเขียนทั้งสองแบบนี้เขียนได้ในหมู่พระเท่านั้น ในประมาณศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลได้มีการพัฒนาการเขียนให้ดีขึ้นกว่าเดิมมุ่งให้เขียนง่ายขึ้น ตัวอักษรภาพลดจำนวนน้อยลงและจำนวนผู้ที่สามารถเขียนได้มากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวทำให้อักษรภาพลดเหลือเพียง 24 ตัว เรียกตัวอักษรเดโมติค (Demotic) จากชัยชนะในการเขียนและการค้า ทำให้ศิลปะการเขียนของอียิปต์แพร่หลายออกไป


Hieroglyphs on the wall
ภาพศิลาจารึก Rosetta
ที่มา https://chawalit069.wordpress.com/

        สำหรับอักษรของอียิปต์นั้น นับแต่อารยธรรมล่มสลายลงไปก็ไม่มีใครสามารถตีความได้ จนกระทั่งได้มีการค้นพบ ศิลาจารึก โรเซทต้า (ROSETTA) ในปี ค.ศ. 1799 ที่มีจารึกอักษรเฮียโรกลิฟฟิคกับอักษรกรีกโบราณเอาไว้ ฟรองซัวส์ ชองโพลียอง ใช้วิธีการค้นคว้าโดยอ่านเทียบกับอักษรกรีกโบราณ และสามารถตีความได้สำเร็จในปี 1822
      
ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-khwam-cheux-laea-sasna/--dan-xaksr-sastr

วรรณกรรม

วรรณกรรมเด่นของอียิปต์โบราณแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. วรรณกรรมเกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่คัมภีร์ผู้ตาย คัมภีร์นี้มุ่งแสดงต่อเทพเจ้าโอซิริส เพื่อการเข้าสู่โลกหน้าที่อุดมสมบูรณ์และสุขสบายเช่นอียิปต์โบราณ นอกจากนี้ยังมีบทสรรเสริญของพระเจ้าอเนโฮเต็ปที่ 4 ต่อเทพเจ้าอะตัน เป็นต้น
ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-khwam-cheux-laea-sasna/--dan-xaksr-sastr/--dan-kar-chlprathan/--dan-wrrnkrr

2. วรรณกรรมไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ได้แก่งานสลักบันทึกเหตุการณ์ตามเสาหินหรือผนังปิรามิด เป็นต้น

ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-khwam-cheux-laea-sasna/--dan-xaksr-sastr/--dan-kar-chlprathan/--dan-wrrnkrr

ชลประทาน

ด้านการชลประทาน

มีการขุดคลองส่งน้ำ เพื่อการชลประทานเชื่อมต่อแม่น้ำไนล์เนื่องจาก อียิปต์โบราณต้องพึ่งแม่น้ำไนล์เพื่อใช้ในการเพาะปลูกประมาณเมื่อ 4200 B.C. อียิปต์โบราณค้นพบวิธีเก็บกักน้ำและส่งน้ำเข้าพื้นที่ตอนในด้วยการขุดคูคลองระบายน้ำต่างระดับและทำทำนบกั้นน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรกรรม และการคมนาคมวิธีการดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นการริเริ่มการชลประทาน
ที่มา https://sites.google.com/site/social8002/phl-ngan-sakhay-thi-keid-cak-kar-srangsrrkh-xarythrrm-xiyipt/--dan-khwam-cheux-laea-sasna/--dan-xaksr-sastr/--dan-kar-chlprathan